เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

ประเทศ

กรุณาเลือกภาษา:

สร้างอย่างยั่งยืน: KR QUANTEC พิมพ์ฟาซาดแบบ 3 มิติสำหรับกลุ่มบริษัทก่อสร้างจากเบลเยียม

พิมพ์คอนกรีตแทนการหล่อ: BESIX Group สัญชาติเบลเยียมกำลังทำงานเพื่อปฏิวัติวิธีการก่อสร้างแบบเดิม ซึ่ง KR QUANTEC ของ KUKA ได้ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน หุ่นยนต์ตัวนี้พิมพ์เสา ประติมากรรม และองค์ประกอบฟาซาดจากคอนกรีตในรูปแบบ 3 มิติ รวดเร็วและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

14 กรกฎาคม 2564


การพิมพ์ 3 มิติสำหรับฟาซาด: โซลูชันเฉพาะรายในไม่กี่ชั่วโมง

แผงจากคอนกรีต 290 แผ่นสร้างฟาซาดของสตูดิโอ BESIX 3D ในดูไบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท BESIX Group สัญชาติเบลเยียม แผง 290 แผ่นซึ่งพิมพ์ในเวลาประมาณทุกสิบนาทีด้วยความช่วยเหลือจากหุ่นยนต์ของ KUKA และได้รับการประกอบติดตั้งที่ตัวอาคารในหน้างานเท่านั้น ซึ่งนับเป็นโครงการบุกเบิกแห่งแรกของกลุ่มบริษัทก่อสร้างและปัจจุบันถือเป็นฟาซาดคอนกรีตที่พิมพ์ในแบบ 3 มิติที่ใหญ่ที่สุดของโลก
รวดเร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัย: การพิมพ์แบบ 3 มิติด้วยคอนกรีตปฏิวัติวิธีการก่อสร้างแบบเดิม ด้วยวิธีนี้ ขั้นตอนการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุจึงป้องกันไม่ให้เกิดขยะ และส่งมอบโซลูชันที่ปรับแต่งตามความต้องการ หรือแม้แต่ทั้งชุดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ณ ปัจจุบันนี้บริษัทก่อสร้างทั่วโลกจึงทำงานเพื่อที่จะหาวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการพิมพ์แบบ 3 มิติ รวมถึง BESIX Group ที่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองบรัสเซลส์ด้วยเช่นกัน บริษัทซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1909 ได้สร้างสตูดิโอ 3 มิติในดูไบในเดือนธันวาคม 2018 และนำหุ่นยนต์หนึ่งตัวจากตระกูล KR QUANTEC ไปใช้สำหรับการพิมพ์
BESIX ที่ดูไบ: ฟาซาดคอนกรีตที่พิมพ์ในแบบ 3 มิติที่ใหญ่ที่สุดในโลกถูกสร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากหุ่นยนต์ของ KUKA
แขนงอของ KR QUANTEC ติดตั้งหัวฉีดสำหรับการพิมพ์คอนกรีตแบบ 3 มิติ

พันธมิตรที่แข็งแกร่งสำหรับกระบวนการใหม่ๆ ในการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ

"ช่วงเริ่มต้นของโครงการเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดสำหรับเราที่จะพบเจอกับพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ซึ่งพร้อมที่จะคิดในมุมมองใหม่ๆสำหรับการพิมพ์ เราได้พบกับพันธมิตรนี้กับ KUKA และในตอนนี้เราสามารถทำให้แผนของเราเป็นจริงได้โดยอัตโนมัติ" Benoît Meulewaeter ผู้จัดการโครงการด้านการออกแบบอาวุโสและรับผิดชอบทีม BESIX 3D กล่าว บริษัทได้พัฒนาแอปพลิเคชันหุ่นยนต์ของตัวเองสำหรับการพิมพ์แบบ 3 มิติด้วยวัสดุคอนกรีตร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติของ KUKA จากเมืองเอาก์สบูร์ก องค์ประกอบที่สร้างขึ้นทั้งหมดที่ลูกค้าต้องการนั้นจะถูกสร้างขึ้นเป็นแบบจำลองล่วงหน้าผ่านซอฟต์แวร์ 3 มิติ 

ซอฟต์แวร์ 3 มิติ ส่งต่อสเปคของแบบที่ต้องการสร้างให้กับ KR QUANTEC

"ไม่มีข้อจำกัดสำหรับความต้องการที่ซับซ้อนในการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุเช่นกัน ด้วยการพิมพ์แบบ 3 มิติเราสามารถผลิตรูปทรงใดๆ หรือสั่งทำพิเศษได้" Meulewaeter อธิบาย หากแบบจำลองเสร็จสมบูรณ์ ซอฟต์แวร์จะส่งต่อข้อมูลไปยัง KR QUANTEC ซึ่งมีหัวฉีดสำหรับการพิมพ์แบบ 3 มิติติดอยู่ที่แขนงอ ในตอนท้ายหุ่นยนต์จะพิมพ์ทีละชั้น ประติมากรรม องค์ประกอบฟาซาด และชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ สำหรับอาคารตามข้อกำหนด รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นั่นเป็นวิธีที่สร้างเสาสูงสองเมตรภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง 
ด้วยการพิมพ์ 3 มิติโดยใช้คอนกรีต ทำให้การประดิษฐ์รูปทรงต่างๆตามที่กำหนดนั้นเป็นไปได้

ไม่มีขยะและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ (CO2) ด้วยการใช้หุ่นยนต์

รวมถึงเรื่องของสีที่ลูกค้าสามารถเลือกเองได้: สามารถผสมผงสีจริงลงในวัตถุดิบคอนกรีตก่อนการพิมพ์ - เพื่อให้ได้สีที่ลูกค้าต้องการ หุ่นยนต์ไม่เพียงแต่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเสียงเบาอีกด้วย คอนกรีตเหลวจะถูกแปลงแบบ 1:1 เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายเพื่อให้ขั้นตอนนี้ไม่ก่อให้เกิดขยะ อีกทั้งการใช้ KR QUANTEC ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถพิมพ์ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ต้องการได้โดยตรงในสถานที่ก่อสร้างและไม่ต้องขนส่งแยกต่างหาก 
ชิ้นส่วนประกอบที่ต้องการสร้างขึ้นทีละชั้นจากคอนกรีตเหลว 

การพิมพ์แบบ 3 มิติด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Benoît Meulewaeter กล่าวว่า: "เรากำลังดำเนินตามเป้าหมายขององค์กรอย่างต่อเนื่องในการนำเสนอโซลูชันที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการพิมพ์แบบ 3 มิติด้วยคอนกรีต" ซึ่ง KUKA ก็ให้การสนับสนุนเช่นกัน Alois Buchstab ซึ่งเป็นทีมที่ดูแลโครงการ 3 มิติในส่วนของ KUKA กล่าวว่า: "เราดีใจที่ BESIX Group ตัดสินใจเลือก KUKA ให้เป็นพันธมิตรความร่วมมือ ด้วยโซลูชันหุ่นยนต์ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและองค์ความรู้ของเรา เราจะดำเนินตามความรับผิดชอบของเราเพื่ออนาคตอันยั่งยืน"


ขณะนี้ทีม BESIX 3D กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรรายอื่นๆ ในการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นได้ ซึ่งบริษัทก็กำลังพิจารณาที่จะให้หุ่นยนต์ของ KUKA พิมพ์ที่หน้างานเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนในการขนส่ง "เราพอใจอย่างมากกับการร่วมมือกันของเรา และมั่นใจว่าเราจะสามารถผลักดันโครงการอื่นๆ กับ KUKA ได้อีกมากมายในอนาคตอันใกล้นี้" บริษัทกำลังพิจารณาที่จะขยายโรงงานผลิตในดูไบหรือแม้แต่เปิดสตูดิโอที่คล้ายกันในเบลเยียมหรือเนเธอร์แลนด์
การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุในความสมบูรณ์แบบ: สามารถพิมพ์ชิ้นส่วนประกอบที่ซับซ้อนได้ในภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง 

ด้วยการใช้หุ่นยนต์ของ KUKA เราสามารถสนับสนุนโครงการก่อสร้างที่ยั่งยืนได้ทั่วโลก

Alois Buchstab รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการเติบโตของ KUKA

คุณอาจสนใจ