เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

ประเทศ

กรุณาเลือกภาษา:

กำลังมากขึ้น ระยะยืดก็เพิ่มขึ้น: หุ่นยนต์ KUKA ในการผลิตกระจก

LiSEC ผู้ผลิตเครื่องจักรจากออสเตรียตอนล่างนำหุ่นยนต์ของ KUKA ไปใช้ในการโหลดลงบริเวณอบคืนตัว (Tempering Bed Loading)


เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมกระจกแบนคืออาชีพของ LiSEC GmbH

กลุ่มผลิตภัณฑ์ครอบคลุมตั้งแต่ระบบตัดแก้วและระบบคัดแยกแก้ว ส่วนประกอบแยกชิ้นและสายการผลิตทั้งหมด รวมถึงเครื่องตัดแต่งขอบกระจกและระบบอบคืนตัว ไปจนถึงซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง และบริการที่เหมาะสม “ลูกค้าของเราใช้เครื่องจักรของเราแปรรูปและตกแต่งพวกกระจกฉนวนสำหรับผนังกระจกห่อหุ้มอาคารและกระจกสำหรับราวบันได เป็นต้น” Bernhard Leitner ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ด้านโลจิสติกส์ของ LiSEC อธิบาย ภายใน 60 ปี บริษัทแปรรูปแก้วเล็กๆ ที่ก่อตั้งโดย Peter Lisec ในปี 1961 ได้เติบโตขึ้นเป็นบริษัทผลิตเครื่องจักรที่ดำเนินธุรกิจทั่วโลกที่มีพนักงานอยู่ประมาณ 1,250 คน ประมาณ 800 คนจากจำนวนดังกล่าวทำงานในสำนักงานใหญ่ในไซเต็นชเต็ทเต็น นอกจากยุโรปแล้ว สหรัฐอเมริกา จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ยังถือเป็นตลาดการขายที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทด้วยเช่นกัน ผู้ผลิตหน้าต่าง ผู้ผลิตผนังห่อหุ้มอาคาร ผู้แปรรูปแก้ว และอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกล้วนแต่อยู่ในรายชื่อลูกค้าของเรา “สำหรับบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดกลางในอุตสาหกรรมกระจกแบน ระดับของระบบอัตโนมัตินั้นมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ” Andreas Mader ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและผู้ประสานงานโครงการของ LiSEC กล่าว บริษัทจากออสเตรียตอนล่างไม่เพียงแค่พิจารณาถึงการแปลงเป็นระบบดิจิทัลแบบครบวงจรและการรวมซอฟต์แวร์ควบคุมการผลิตและการควบคุมเครื่องจักรเข้ากับเครือข่ายโรงงานระดับสูงเท่านั้น แต่ยังพิจารณาถึงเรื่องระบบอัตโนมัติอย่างเต็มที่ด้วย
การทำงานของหุ่นยนต์ KUKA ที่ LiSEC (c) Martin Gold

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องทำกระจกแบน 

เพื่อให้มีโซลูชันเหล่านี้อยู่ในมือของเรา LiSEC จึงพัฒนาซอฟต์แวร์ภายในองค์กร Leitner กล่าวว่า “ลูกค้าของเราได้รับประโยชน์ เนื่องจากเราเป็นบริษัทเดียวในอุตสาหกรรมเครื่องจักรทำกระจกแบนที่สามารถวางแผนและจัดการโครงการขนาดใหญ่ได้อย่างครอบคลุม” นอกเหนือจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายแล้ว ซอฟต์แวร์คือกุญแจสำคัญสำหรับเรื่องนี้ สรุปได้อย่างรวดเร็วว่าสูตรแห่งความสำเร็จก็คือ องค์ความรู้ Leitner ให้ข้อมูลเชิงลึกว่า “เราทราบขั้นตอนการผลิตภายในของอุตสาหกรรมแปรรูปแก้วในเชิงลึก รู้เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการ และความท้าทายตั้งแต่เริ่มต้น” เราจึงมีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในวงกว้าง ในขณะเดียวกัน LiSEC ก็ถือว่าโชคดี ที่สามารถรับคำแนะนำจากในบริษัทของตัวเองได้เสมอ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีโรงงานแปรรูปแก้วเป็นของตัวเองด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ Glastech Produktions- und Verfahrenstechnik GmbH โรงงานแห่งนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทเลยอีกด้วย และความพยายามในการสร้างเครื่องจักรที่ดีดที่สุดอยู่เสมอก็ได้กลายเป็นความสามารถหลักของบริษัทจากออสเตรียตอนล่าง การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ภายในองค์กรกันอย่างเข้มข้นนั้นสะท้อนให้เห็นในคุณภาพของเครื่องจักรและโรงงาน ที่ได้รับการชื่นชมจากลูกค้าทั่วโลก
เมื่อเทียบกับระบบลูกกลิ้งลำเลียง หุ่นยนต์มีโดดเด่นกว่าในด้านความยืดหยุ่นและความสามารถในการทำซ้ำที่มากกว่า (c) Martin Gold 

การกระจายความร้อนเป็นตัวกำหนดตำแหน่ง 

ระบบอัตโนมัติมีบทบาทสำคัญต่อลูกค้าของ LiSEC อย่างมาก ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ท้ายที่สุดแล้วก็เป็นเพียงแค่เรื่องของเวลาก่อนที่หุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้ในการผลิตกระจกแบน ตัวอย่างที่เช่นได้อย่างชัดเจนก็คือการโหลดลงบริเวณอบคืนตัว ในเตาอบคืนตัว กระจกฉนวนจะถูกทำให้ร้อนถึงเกือบ 700 °C แล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็วโดยใช้กระแสลม กล่าวเผินๆ กระบวนการดังกล่าวอาจฟังดูง่าย แต่ก็มีความท้าทายอยู่ เนื่องจากหากต้องใช้งานเตาอบคืนตัวสำหรับการอบโดยที่มีปริมาณแก้วสูง จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ความเฉื่อยทางความร้อนของลูกกลิ้งขนส่งและความปั่นป่วนของอากาศที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการด้วย ปัจจัยที่ซับซ้อนอีกประการหนึ่งคือแผ่นกระจกมักจะมีขนาดต่างกัน หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในจุดนี้ เช่น หากมีการกระจายความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอบนแผ่นกระจก จะเกิดคลื่นขึ้นบนพื้นผิวเล็กน้อย ซึ่งทำให้คุณภาพของกระจกลดลงอย่างถาวร เนื่องจากจะทำให้ความประทับใจที่มองเห็นผนังกระจกห่อหุ้มลดลงอย่างมาก เป็นต้น LiSEC รับมือกับเรื่องนี้ด้วยการโหลดลงบริเวณอบคืนตัวที่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยชั้นกระจกฉนวนที่เชื่อมเข้ากันตามลำดับอย่างถูกต้องจะถูกป้อนไปบริเวณอบคืนตัวทีละชิ้นในตำแหน่งตัวที่เปลี่ยนแปลงตามการคำนวณของซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งจะพิจารณาถึงสภาวะทางความร้อนในเตาอบคืนตัวให้มากที่สุด ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์ภายในองค์กรที่ LiSEC ได้อย่างชัดเจน
การใช้งานบริเวณอบคืนตัวได้รับการตั้งค่าอย่างสมบูรณ์และทดสอบอย่างละเอียดก่อนส่งมอบอย่างแน่นอน (c) Martin Gold 

ความยืดหยุ่นที่ล้ำหน้าไปไกล 

“การสร้างระบบให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละรายคือความท้าทายสูงที่เพิ่มเข้ามา” Bernhard Leitner อธิบาย “เรามีความยืดหยุ่นในระดับสูง ไปจนถึงการใช้งานและอุณหภูมิที่แตกต่างกันไปตามฤดูกาล” เห็นได้ชัดว่า หากขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกระบวนการและองค์ความรู้ที่ครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดพารามิเตอร์ของซอฟต์แวร์ ก็ย่อมไม่มีโอกาสที่เข้าสู้ตลาด อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะตั้งและตกลงไปพร้อมกับตำแหน่งที่แน่นอนของแก้วก่อนที่จะวางลงในเตาอบคืนตัว ก่อนหน้านี้งานดังกล่าวได้รับการจัดการโดยระบบสายพานลำเลียงแบบลูกกลิ้ง แต่ระบบนี้มีข้อเสียให้เห็นอย่างชัดเจน นั่นคือ ความต้องการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่และความยืดหยุ่นต่ำ เนื่องจากสามารถกำหนดได้แค่ตำแหน่งอ้างอิงแบบคงที่ ซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วเท่านั้น ขณะนี้ LiSEC ใช้หุ่นยนต์เพื่อจุดประสงค์นี้เป็นครั้งแรกทั่วโลกในโรงงานสำหรับลูกค้าชาวออสเตรเลีย ซึ่งข้อดีก็ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน นั่นคือ ตอนนี้มีความยืดหยุ่นในการกำหนดตำแหน่งมากดังที่คาดหวังไว้ ซึ่งมากจนขนาดที่สามารถป้อนแผ่นแก้วที่หมุนอยู่ในขณะนั้นเข้าไปยังเตาอบคืนตัวได้ “อย่างไรก็ตาม ด้วยขนาดของแผ่นกระจกที่กว้างถึง 3.30 ม. ระยะยืดของหุ่นยนต์ จึงมีความสำคัญเช่นกัน” Leitner กล่าว ข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ข้อเสนอในตลาดหุ่นยนต์ลดลงอย่างรวดเร็ว

การใช้งานที่ง่ายดายและแพ็คเกจบริการของ KUKA ที่ครอบคลุมนั้นสะดวกมากสำหรับผู้ใช้ (c) Martin Gold

น้ำหนักบรรทุกสูงและระยะยืดที่ยาว

KUKA เข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จึงสามารถพบเห็นหุ่นยนต์ประเภทต่างๆ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่ดำเนินธุรกิจทั่วโลก ที่ทำหน้าที่นี้ได้อย่างยอดเยี่ยม หุ่นยนต์แบบหกแกน KR 180 R3500 ultra K โดดเด่นด้วยน้ำหนักบรรทุก 180 กก. และระยะยืด 3.5 ม. รวมถึงมีน้ำหนักตัวต่ำ ข้อดีอื่นๆ: หากแผ่นกระจกมีน้ำหนักมากกว่า หุ่นยนต์จะไม่ยกแผ่นนั้นขึ้น แต่จะดึงด้วยเบาะลม ความเร็วสูง ผลผลิตก็เช่นกัน: ความก้าวหน้าในสายพานลำเลียงแบบลูกกลิ้งที่เห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษายังลดลงมากอีกด้วย ในขณะเดียวกันก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น “คุณสมบัติอีกอย่างของหุ่นยนต์คือใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย” Alexander Ahrer ผู้จัดการฝ่ายบัญชีของ KUKA กล่าวเสริม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการปรับระบบให้ทันสมัยเมื่อพื้นที่ว่างมีจำกัด
หุ่นยนต์ KR 180 R3500 ultra K แบบหกแกนมีน้ำหนักบรรทุก 180 กก. และระยะยืด 3.5 ม. (c) Martin Gold 

การใช้งานหุ่นยนต์ของ KUKA 

ในกรณีเฉาพะนี้ หุ่นยนต์จะได้รับการจัดวางให้อยู่บนหน่วยเชิงเส้น KL 4000 ของ KUKA ซึ่งมีการออกแบบที่บางเฉียบ ยิ่งไปกว่านั้นคือยึดด้วยสกรูทั้งหมด Ahrer กล่าวว่า “งานเชื่อมระหว่างการติดตั้งนั้นไม่จำเป็นอีกต่อไป” เพื่อให้แน่ใจว่าพื้นผิวของแผ่นกระจกจะไม่เสียหาย พื้นผิวเหล่านั้นจะต้องได้รับการจัดการอย่างนุ่มนวลและเป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับในส่วนนี้ ที่หุ่นยนต์จับยึดที่มีความละเอียดอ่อนเป็นความก้าวหน้าที่เห็นได้อย่างชัดเจนในระบบสายพานลำเลียงแบบลูกกลิ้ง นอกจากนี้ ถ้วยดูดสูญญากาศยังมีฝาปิดพิเศษที่ป้องกันการเกิดรอยได้มากอีกด้วย และข้อดีหลักอีกประการหนึ่งของการใช้หุ่นยนต์ก็คือ ความสามารถในการทำซ้ำของกระบวนการทั้งหมดเพิ่มขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับการระบุข้อบกพร่องในกระบวนการที่ง่ายกว่ามาก

เราลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การทำงานของหุ่นยนต์ของเรานั้นเรียบง่ายและปลอดภัยที่สุดและเพื่อสนับสนุนลูกค้าด้วยองค์ความรู้และบริการด้านวิศวกรรมของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับลูกค้าที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรม

Alexander Ahrer ผู้จัดการฝ่ายบัญชี

บริการในรูปแบบครบวงจร

“นอกจากประสิทธิภาพทางเทคนิคแล้ว เรายังเชื่อมั่นว่าหุ่นยนต์สามารถตั้งโปรแกรมและใช้งานได้อย่างง่ายดายอีกด้วย” Andreas Stöger ผู้รับผิดชอบด้านการตั้งโปรแกรมที่ LiSEC เน้นย้ำถึงการตัดสินใจที่ถูกต้อง “เรายังสามารถพึ่งพาการสนับสนุนจาก KUKA ได้ตลอดเวลา บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นยอดเยี่ยมมาก” นอกจากนี้ หุ่นยนต์แบบเดียวกันตัวที่สองจะขนแก้วออกจากเตาอบหลังจากกระบวนการอบคืนตัวและทำให้ระบบสมบูรณ์

จากด้านซ้าย: Andreas Mader ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและผู้ประสานงานโครงการของ LiSEC, Bernhard Leitner ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ด้านโลจิสติกส์ของ LiSEC, Andreas Stöger ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการหุ่นยนต์ของ LiSEC และ Alexander Ahrer ผู้จัดการฝ่ายบัญชีของ KUKA (c) Martin Gold

LiSEC RHH - ระบบจัดการหุ่นยนต์สำหรับการการโหลดลงและขนออกจากบริเวณอบคืนตัว 

ค้นหาพันธมิตรระบบของ KUKA ในบริเวณใกล้เคียง

ค้นหาพันธมิตรที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมหรือปัญหาของคุณได้ที่นี่