เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

ประเทศ

กรุณาเลือกภาษา:

การวิจัย

หุ่นยนต์ KUKA Passagier รับภารกิจในการค้นคว้าการรับรู้จากประสาทสัมผัสและสมอง


การจำลองป่าไม้ที่เหมือนจริงด้วย KR 500 TÜV 

หุ่นยนต์ KUKA Passagier ในสถาบันวิจัยและพัฒนา

พื้นที่ทำงานกว้าง ระบบคิเนเมติกส์แบบเปิด การปรับให้เหมาะแบบเฉพาะเจาะจง การป้อนสื่อเข้า และการควบคุมที่ใช้งานง่าย เป็นข้อดีเพียงไม่กี่ข้อที่ทำให้หุ่นยนต์ KUKA Passagier เป็นหุ่นยนต์ตัวแรกที่ได้รับเลือกสำหรับภารกิจการศึกษาค้นคว้าการรับรู้จากประสาทสัมผัสและสมอง

หุ่นยนต์ KUKA Passagier เข้าถึงได้ทุกหนทุกแห่งที่ต้องมีการปรับขนาดหุ่นยนต์แมงมุม Hexapod (Stewart-Platform) ให้เหมาะสม เนื่องจากมีพื้นที่ในการเคลื่อนที่จำกัด เนื่องจากมีช่วงการหมุนที่กว้างของแกน 1 กับแกน A4 และ A6 ที่หมุนได้ไม่สิ้นสุด จึงมีขยายการแสดงการเคลื่อนไหวและการเร่งความเร็วได้กว้างขึ้น KUKA เติมเต็มความต้องการสูงของสถาบันวิจัยในส่วนที่โซลูชั่นดั้งเดิมช่วยได้ไม่มากพอด้วยโซลูชั่นแบบพิเศษ 

กิจการป่าไม้แบบดิจิตอลด้วย KUKA KR 500 TÜV

ช่วงเวลาที่ขวานเป็นเครื่องมือทุ่นแรงในกิจการป่าไม้ ได้ผ่านไปนานแล้ว แทบจะไม่ได้ยินเสียงของเลื่อยไฟฟ้าดังสนั่นทั้งป่าตามท้องถิ่นในกิจการป่าไม้ที่ทำเป็นอาชีพหลัก

เมื่อต้องจัดการกับผืนป่าอันกว้างใหญ่ ปัจจุบัน เครื่องเก็บเกี่ยวจึงกลายเป็นเครื่องตัดไม้ที่ใช้เป็นเครื่องจักรทุ่นแรงทั่วไป เครื่องจักรแบบมีล้อหรือแบบตีนตะขาบจะทำหน้าที่ในการโค่นต้นไม้ ตัดกิ่ง เลื่อยไม้เป็นท่อนยาว และนำต้นไม้ไปจัดเรียงแยกตามชนิด

การฝึกอบรมในเครื่องจำลองการทำงาน

ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเครื่องตัดไม้ในเครื่องจำลองการทำงานถือเป็นกระบวนการมาตรฐาน ผู้ปฏิบัติงานเครื่องจักรต้องเรียนรู้วิธีการขยับแกนของเครนถึงห้าแกนพร้อมกันให้ทำงานประสานกัน เพื่อให้เอื้อมถึงต้นไม้ที่จะเคลื่อนย้ายจากแนวป่าด้านหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่สร้างความเสียหายให้ต้นไม้ใกล้เคียง

ในเวลาเดียวกัน ก็ต้องขับเครื่องจักรไม่ให้พื้นดินพังเสียหาย และระวังไม่ให้ต้นไม้ตามแนวป่าด้านหลังได้รับความเสียหายจากล้อรถ ในส่วนนี้ ชิ้นส่วนสำคัญของห้องคนขับและเส้นโครงแผนที่แบบสเตริโอกราฟิก จะมาช่วยเติมเต็มให้หุ่นยนต์ KUKA KR 500 TÜV ระบบดังกล่าวนี้ช่วยให้สามารถทำการฝึกอบรมรูปแบบใหม่ได้

ห้องคนขับที่ตัวหุ่นยนต์

สถาบันเพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรของ RWTH Aachen ได้ทำการติดตั้งองค์ประกอบควบคุมการใช้งานและองค์ประกอบที่ช่วยในการมองเห็นภาพที่จำเป็นให้ห้องคนขับ เพื่อให้เข้าถึงการฝึกอบรมอย่างลึกซึ้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากการฉายภาพแบบสามมิติที่มีความละเอียดสูงบนพื้นจอเครื่องฉายภาพทรงกลมแล้ว ยังมีการติดตั้งหน้าจอสัมผัสจริงและองค์ประกอบควบคุมการใช้งาน รวมถึงคันเหยียบของเครื่องจักรใช้งานอีกด้วย ระบบเสียงทำให้ได้ยินเสียงประกอบเสมือนจริง

เป้าหมาย คือ การทำให้การตอบสนองที่รู้สึกถึงผิวสัมผัส (haptic feedback) สำหรับการฝึกอบรมคนขับมีความสมบูรณ์แบบ การใช้ซอฟต์แวร์พิเศษเข้ามาช่วยทำให้นักวิชาการสามารถพัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจนให้ความรู้สึกราวกับว่ากำลังขับอยู่ในผืนป่าจริง ๆ โดยพื้นฐานแล้ว โซลูชั่นทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับระบบที่จะรับประกันระบบความปลอดภัยที่ทำงานด้วยตัวเองสำหรับผู้โดยสารในทุกสถานะการปฏิบัติงานและการจำลองการทำงาน