เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

ประเทศ

กรุณาเลือกภาษา:

วิวัฒนาการ (นวัตกรรม) แห่งสิ่งทอ

การย้ายการผลิตให้เข้าใกล้ตลาดขายอีกครั้งกำลังได้รับความนิยม ซึ่งช่วยประหยัดเวลา ต้นทุน และดีต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอของยุโรป สิ่งที่ได้กลับคืนมาบางส่วนจากโรงงานผลิตต้นทุนต่ำในเอเชียนั้นหลักๆ แล้วจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี วิทยาการหุ่นยนต์ของ KUKA ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติของ robotextile สามารถสร้างโซลูชันระบบที่มีประสิทธิภาพและสะดวกอย่างเหลือเชื่อ ซึ่งจะนำการผลิตสิ่งทอไปสู่ยุคใหม่ได้


จุดเปลี่ยนของสิ่งทอ

บริษัทในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอที่เคยเป็นผู้บุกเบิกการปฏิวัติอุตสาหกรรม วันนี้บริษัทเหล่านี้ต้องยืนอยู่บนทางแยกของการปรับโครงสร้างใหม่ทั่วโลก เช่นเดียวกับการเริ่มใช้เครื่องทอผ้าในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 19 ที่ทำให้อุตสาหกรรมและระเบียบทางสังคมทั้งหมดเกิดความยุ่งเหยิงอย่างสมบูรณ์ ทุกวันนี้ การเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นดิจิทัลถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของยุคสมัย อุตสาหกรรมกำลังได้รับแรงผลักดันเพิ่มเติมจากการแสวงหาความยั่งยืนอย่างเร่งด่วนและมาตรฐานทางสังคมที่สมาชิกสภานิติบัญญัติเรียกร้อง แรงผลักดันเหล่านี้ยังนำไปสู่การเปลี่ยนความคิดในการผลิตสิ่งทอ ซึ่งมีพนักงานประมาณ 75 ล้านคนทั่วโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียและบ่อยครั้งที่มีเงื่อนไขการทำงานที่น่าสงสัย

Michael Fraede ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของ robotextile เชื่อมั่นอย่างมากว่าจะพลิกฟื้นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญระดับโลกนี้ได้

จนถึงปัจจุบัน ผู้คนไม่มากก็น้อยในอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอมักจะมองห้ามระบบอัตโนมัติไปเลย แต่สิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป เนื่องจากระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งจำเป็นหลักสำหรับการผลิตสิ่งทอ เพื่อให้เข้าใกล้ตลาดการขายที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพและเหนือสิ่งอื่นใดคือมีความยั่งยืนมากขึ้น

Michael Fraede ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของ robotextile

วิทยาการหุ่นยนต์ของ KUKA ปฏิวัติอุตสาหกรรมสิ่งทอ

หุ่นยนต์ขนาดเล็กจาก KUKA ช่วยให้สามารถผลิตได้อย่างคุ้มค่า ยั่งยืน และรวดเร็ว

ยังคงคิดเกี่ยวกับการผลิตสิ่งทอต่อไป

Michael Fraede ทำงานที่บ้านในด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมากว่า 30 ปี และคอยมองหาโซลูชันสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่เสมอ เขาและ Michael Müller กรรมการผู้จัดการของ erler GmbH ดอร์เมททิงเงน (Dormettingen) ในภูมิภาคชวาเบิน (Swabia) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ ผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งสองได้พัฒนาโซลูชันระบบที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับการจัดการกับสิ่งทอโดยเฉพาะและก่อตั้ง robotextile ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์คือความยืดหยุ่นสูงสุดในกระบวนการที่เรียกว่า “กระบวนการเสริม” ซึ่งก็คือการจัดการทั้งหมดนอกเหนือจากกระบวนการตัดเย็บจริง

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าต้องนำคนอื่นเสมอ

โดยความต้องการในอุตสาหกรรมสิ่งทอในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากแฟชันไปเร็วมาเร็ว แบบและรุ่น สี รวมถึงการตัดจึงต้องเร็วขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ การผลิตตามโอกาสจากกระบวนการปรับแต่งและสั่งซื้อดิจิทัลยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถึงกระนั้น Fraede ตั้งข้อสังเกตว่า หลายบริษัทหลีกเลี่ยงระบบอัตโนมัติและงานตั้งโปรแกรมและการติดตั้งที่น่าจะมีราคาแพงและซับซ้อน ซึ่งทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ “เราต้องการขจัดความกังวลนั้นออกไปจากพวกเขา และตอนนี้เราสามารถเอาความกังวลเหล่านั้นออกไปจากพวกเขาได้แล้ว”

อุตสาหกรรมแฟชันเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวเร็วมาก ซึ่งต้องนำเทรนด์อยู่เสมอ

ผ้า (วัสดุ) ที่มีความท้าทาย

Fraede และ Müller ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยสิ่งทอและเสื้อผ้าแห่งมหาวิทยาลัย Niederrhein University of Applied Sciences (Hochschule Niederrhein) ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติไม่เคยสามารถคิดแนวคิดที่น่าเชื่อถือและที่สำคัญคือประหยัด นั่นคือการจัดการกับสิ่งทอและชิ้นส่วนที่ตัดแล้วที่นิ่มหรือเสียรูปได้ง่ายและยืดหยุ่น

อุตสาหกรรมสิ่งทอมีหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อเปลี่ยนให้อุตสาหกรรมมีความทันสมัยอย่างยั่งยืน

“สำหรับหุ่นยนต์แล้ว สิ่งนี้ค่อนข้างแตกต่างจากการจัดการกับวัสดุที่แข็ง เช่น ไม้หรือเหล็ก ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้” ศาสตราจารย์ Maike Rabe หัวหน้าสถาบันวิจัยสิ่งทอและเสื้อผ้า (FTB) แห่ง Niederrhein University of Applied Sciences ในมึนเช่นกลัดบัค (Mönchengladbach) กล่าว “อย่างไรก็ตาม โชคไม่ดีที่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและอุตสาหกรรมสิ่งทอตามหลังอุตสาหกรรมอื่นๆ ในแง่ของระบบอัตโนมัติและการเปลี่ยนเป็นดิจิทัลอยู่มาก” 

Robotextile ตอบคำถามเกี่ยวกับความท้าทายนี้

เราประสบความสำเร็จในการใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กของ KUKA ที่คล่องตัวและยืดหยุ่นสูงจากซีรีส์ AGILUS, SCARA และ LBR iisy รวมถึงกริปเปอร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อนำชั้นผ้าออกจากกองผ้าที่ตัดแล้ว แล้วแยกเป็นชิ้นๆ ในการผลิตขั้นตอนถัดไป โดยไม่จำเป็นต้องรวมผ้าชั้นล่างไว่ในกระบวนการ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในท้องตลาด

Michael Müller ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของ erler GmbH
หุ่นยนต์ขนาดเล็กจาก KUKA สร้างความประทับใจด้วยการออกแบบขนาดกะทัดรัด ระยะยืดยาว และความแม่นยำสูง

การย้ายถิ่นฐานมาผลิตในประเทศเพื่อนบ้านและวิทยาการหุ่นยนต์จะนำไปสู่คุณภาพที่เชื่อถือได้และต้นทุนที่แข่งขันได้

ผู้ก่อตั้ง robotextile เชื่อมั่นว่าผู้ผลิตสิ่งทอในยุโรปมีความได้เปรียบในการแข่งขันระดับนานาชาติที่เพิ่มขึ้นกับคู่แข่งจากประเทศต้นทุนต่ำหากพวกเขาพึ่งพาหุ่นยนต์ “ในการผลิตสิ่งทอทั่วไป ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของค่าแรงมาจากกิจกรรมการจัดการผ้าที่ง่ายที่สุด ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มักเป็นขั้นตอนที่ซ้ำซากจำเจและน่าเบื่อ เช่น การใส่กระเป๋ากางเกงหรือปลอกคอก่อนเย็บ” Michael Fraede กล่าว สำหรับขั้นตอนเหล่านี้ ระบบอัตโนมัติจะเข้ามาเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับบริษัทที่ต้องการทำการผลิตภายในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้านด้วยการใช้กำลังคนน้อยลง วิทยาการหุ่นยนต์ที่ใช้อย่างชาญฉลาดจะปูทางไปสู่ “คุณภาพที่เชื่อถือได้และสม่ำเสมอด้วยต้นทุนการทำงานที่จัดการได้” และทำให้เกิดเป็นวิธีการผลิต ที่สามารถแข่งขันได้จริงและสามารถอยู่รอดในตลาดได้ในระยะยาว

“สนใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ”

โซลูชันระบบของ robotextile แบบใหม่สำหรับการผลิตสิ่งทอโดยอัตโนมัติทำให้ผู้ประกอบการที่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ทั้งสองรู้ว่าพวกเขากำลังมาถูกทางแล้ว นอกจากนี้เพราะพวกเขาได้พบกับโซลูชันจากการที่ “สนใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ” อีกด้วย Michael Müller รายงานว่า “สิ่งทออาจเปลี่ยนรูปร่างได้ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างหรือองค์ประกอบของเส้นใย ดังนั้นในระหว่างการผลิต เครื่องจักรจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับผ้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ระบบอัตโนมัติทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้ นั่นก็คือ การนำหุ่นยนต์เข้ามาจัดการกับสิ่งทอที่เปลี่ยนรูปได้ง่ายและยืดหยุ่น

เทคโนโลยีที่ปรับแต่ง

ที่โรงงานพัฒนาของ erler ในดอร์เมททิงเงน robotextile ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีมากประสบการณ์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการจับยึดเพื่อตอบสนองความต้องการในการผลิตต่างๆ และทำให้เติบโตในตลาด ยกตัวอย่างเช่น โฟลว์กริปเปอร์ (Flow Gripper) ที่ใช้เอฟเฟ็กต์ที่เรียกว่าโคแอนดา (Coanda) โดยกระแสลมทำให้มุมผ้าปลิวขึ้นเพื่อให้สามารถดูดและหนีบแยกกันได้โดยใช้กริปเปอร์ กริปเปอร์ลูกกลิ้งแบบพิเศษอีกตัวใช้สำหรับหยิบสิ่งทอที่บางมาก กริปเปอร์ยางแบบขนานที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมใช้สำหรับสิ่งทอพิเศษและสิ่งทอทางเทคนิค

ละเอียดอ่อนและรวดเร็ว: โคบอท LBR iisy จาก KUKA ก็เหมาะสำหรับงานนี้เช่นกัน

กะทัดรัด แม่นยำ และรวดเร็ว: วิทยาการหุ่นยนต์สำหรับการจัดการสิ่งทอของ KUKA

หุ่นยนต์ขนาดเล็กของ KUKA จากซีรีส์ AGILUS, SCARA และ LBR iisy ที่ใช้ถูกสร้างขึ้นเพื่อโซลูชันระบบนี้โดยเฉพาะ” Björn Märtens ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจระดับโลกของ KUKA อธิบาย “หุ่นยนต์เคลื่อนที่โดยใช้พื้นที่น้อยที่สุดและการออกแบบที่แข็งแกร่งทำให้สามารถทำงานซ้ำได้ในปริมาณสูงสุด อีกทั้งยังมีความแม่นยำอย่างต่อเนื่องที่ความเร็วสูงสุดอีกด้วย ซึ่งช่วยให้หุ่นยนต์ขนาดเล็กมีคุณภาพการผลิตสูงสุด โดยไม่หยุดทำงาน” ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ KUKA SCARA ที่มีพื้นที่ทำงานที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.60 เมตรสามารถทำงานได้สี่ถึงหกวินาทีสำหรับผ้าแต่ละชั้นในหนึ่งรอบ โดยมีน้ำหนักบรรทุกอยู่ที่ห้ากิโลกรัม เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว หุ่นยนต์จะใช้ระบบกระจายสื่อสำหรับอากาศ พลังงาน และข้อมูลที่อยู่ด้านใน

KR SCARA -ของ KUKA ทำให้ระบบอัตโนมัติในหมวดธุรกิจที่มีความละเอียดอ่อนด้านต้นทุนง่ายขึ้นและคุ้มค่ายิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน

เหตุการณ์สำคัญในการผลิตสิ่งทอ

ระบบเซ็นเซอร์ในตัวกริปเปอร์ช่วยให้หุ่นยนต์ขนาดเล็กของเราสามารถนำชั้นผ้าออกจากกองผ้าที่ตัดแล้ว แล้วแยกเป็นชิ้นๆ ในการผลิตขั้นตอนถัดไปได้ ‘ละเอียด’ อย่างแท้จริง” Märtens กล่าว หลายบริษัทได้ลองใช้วิธีนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่มักล้มเหลวในด้านความปลอดภัยของกระบวนการเมื่อบริษัทเติบโตเต็มที่และด้านความคุ้มค่าเสมอมา Michael Müller ผู้ร่วมก่อตั้ง robotextile เชื่อมั่นว่า “เราได้สร้างเหตุการณ์สำคัญที่แท้จริงในเรื่องนี้ขึ้นแล้ว”

โฟกัสเรื่องแนวคิดการผลิตใหม่ทั้งหมด

และเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวเป็นที่ต้องการอย่างมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ “ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้านวัตกรรมใหม่ จากมุมมองทางวิทยาศาสตร์ถือว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมีความสำคัญ” ศาสตราจารย์ Maike Rabe กล่าว “ทุกวันนี้ เราเร่งทำให้การผลิตสิ่งทอมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น เราจะต้องเข้าใกล้ตลาดเป้าหมายให้มากที่สุด” โดย “Textile Factory 7.0” (โรงงานสิ่งทอ 7.0) จะเป็นสิ่งที่ปูทางให้กับเรื่องนี้ T7 (โรงงานสิ่งทอ 7.0) เป็นโครงการร่วมของ Niederrhein University of Applied Sciences และ ITA (Institute for Textile Technology) ที่ RWTH Aachen University, Northwest German Textile and Clothing Industry Association รวมถึง Rhenish Textile and Clothing Industry Association, NRW Textile Academy และ Wirtschaftsförderung Mönchengladbach GmbH

จับตาดูอนาคตให้ดี ระบบอัตโนมัติเพื่อการผลิตสิ่งทอจะยั่งยืนมากขึ้น

C&A: ตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมและผู้นำทางความคิดในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ตามที่ศาสตราจารย์ Rabe กล่าว เป้าหมายที่เหนือกว่าของโครงการนี้คือการทำให้การปฏิรูปอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและอุตสาหกรรมสิ่งทออย่างครอบคลุมด้วยความรู้และโครงการใน Re-Shoring ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นฐานการผลิตกลับมายังประเทศของตนนั้นเป็นจริง เพื่อให้สามารถเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในการทำเช่นนี้นั้นต้องมีพาร์ทเนอร์ที่สามารถถ่ายทอดการพัฒนาดังกล่าวจาก “ห้องปฏิบัติการ” ไปสู่การปฏิบัติจริงในการผลิตได้เสมอ

โซลูชันระบบนวัตกรรมใหม่ของ robotextile ช่วยนำการผลิตกลับมายังยุโรปได้

Re-Shoring จะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุปทานมากกว่าอุปสงค์ เสริมสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ สร้างงานที่น่าสนใจ และเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่ยุติธรรมอย่างมีจริยธรรม ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้ผลิตในแง่ของกฎหมายห่วงโซ่อุปทานฉบับใหม่ เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวนี้ เราจึงรวมเอาการผลิตที่มีความยั่งยืนสูงเข้ากับกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิผลสูง

Jürgen Mohs ตัวแทนที่ได้รับอนุญาตและผู้จัดการโครงการที่ C&A's FIT GmbH

บริษัทเสื้อผ้าสัญญาณเยอรมันดัตช์ C&A และ “Factory for Innovation in Textiles” (FIT) ก็ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนา T7ในเมืองมึนเช่นกลัดบัคด้วย เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว C&A กำลังนำฐานการผลิตกางเกงยีนส์บางส่วนในเอเชียกลับคืนสู่ยุโรปโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่อง และกำลังจัดตั้งสายการผลิตอัตโนมัติต่อไป โดยได้รับความช่วยเหลือจาก robotextile, Niederrhein University of Applied Sciences และพาร์ทเนอร์โครงการ

ฟื้นองค์ความรู้ด้านการผลิตที่สูญเสียไป

ใน “Factory for Innovation in Textiles” (FIT) กลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชันจะมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่, การผลิตที่มีความเป็นกลางทาง CO2 และแฟชันที่ยั่งยืนมากขึ้น สำหรับ Jürgen Mohs ตัวแทนที่ได้รับอนุญาตและผู้จัดการโครงการที่ “C&A's FIT GmbH” มีเป้าหมายเพื่อ “สร้างความมั่นใจในเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานสำหรับอนาคต โดยการนำฐานการผลิตส่วนหนึ่งกลับมายังยุโรป เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการผลิตที่เสียไปกลับมาพร้อมกัน” “เราและ University of Applied Sciences ในมึนเช่นกลัดบัค และ robotextile ได้รับประสบการณ์อันมีค่ามาก” C&A วางแผนที่จะผลิตกางเกงยีนส์ในขั้นต้น 400,000 ตัวต่อปีและต่อมาผลิตได้มากถึง 800,000 ตัวโดยใช้หลักการพื้นฐานนี้ กางเกงตัวแรกจะวางจำหน่ายในปี 2022 “FIT ของ C&A จะเป็นมากกว่าห้องแล็บสำหรับต้นแบบ เพราะเป็นการผลิตในปริมาณที่มากขึ้น” Mohs กล่าว FIT ได้รับแรงผลักดันจากความเชื่อที่ว่าแฟชันที่ยั่งยืนไม่ควรเป็นผลิตภัณฑ์แค่ในปัจจุบันหรือในอนาคตเท่านั้น
การพัฒนาขั้นสูงด้วยหุ่นยนต์ขนาดเล็กจาก KUKA ได้แก่ KR AGILUS, KR SCARA และ LBR iisy

“การเริ่มยุคใหม่”

สำหรับ Michael Fraede นี่คือ “สัญญาณที่ใช่สำหรับการเริ่มยุคใหม่” “FIT ที่เป็นโครงการริเริ่มของ C&A, การสนับสนุนจากวิทยาศาสตร์และการวิจัยอย่างกว้างขวาง และโซลูชันระบบอัตโนมัติที่ปรับขนาดได้ของเราทำให้คุณภาพ เงื่อนไขการทำงานที่ยุติธรรม และกระบวนการที่โปร่งใสในการผลิตสิ่งทออย่างยั่งยืน โดยไม่สำคัญว่าจะผลิตที่ใดกลับมามีบทบาทสำคัญอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งเรียกร้องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอและลูกค้าที่ใส่ใจในคุณภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ” ไม่ว่าสิ่งนี้จะกลายเป็นการปฏิวัติทางเทคโนโลยีหรือ “แค่” วิวัฒนาการก็ตาม ซึ่งเรายังคงต้องพิสูจน์กันต่อไป แต่การพัฒนานั้นจะก้าวไปข้างหน้าอย่างแน่นอน

ค้นหาพันธมิตรระบบของ KUKA ในบริเวณใกล้เคียง

ค้นหาพันธมิตรที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมหรือปัญหาของคุณได้ที่นี่

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ขนาดเล็กของ KUKA